บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน) หรือ KCAR ผู้นำด้านธุรกิจรถเช่าและรถมือสองแบบครบวงจรด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอันยาวนานกว่า 30 ปี เผย 4 กลยุทธ์การบริหารที่ส่งผลให้องค์กรสร้างผลประกอบการที่เหนือกว่าตลาด ได้แก่ 1. การบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ 2. การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ 3. บริการที่สะดวกสบาย รวดเร็วและยึดลูกค้าเป็นที่ตั้ง และ 4. การกำหนดราคาที่ยืดหยุ่น ล่าสุด KCAR โชว์ผลประกอบการครึ่งแรกปี 2566 โกยรายได้รวม 1,153 ล้านบาท (คิดเป็นกำไร 165.9 ล้านบาท) รายได้เติบโตถึง 32.6% เมื่อเทียบกับปี 2565 นับเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่งท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจซบเซาในตลาดรถเช่าที่มีการแข่งขันสูง โดย KCAR เดินหน้าครองอันดับหนึ่งในตลาดทั้งด้านผลประกอบการและความมั่นคง ด้วยทริสเรทติ้งสูงสุดในวงการที่ระดับ A- และการปันผลผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 5% ทุกปีปัจจุบัน KCAR มีบริการเช่ารถยนต์เพื่อการดำเนินงาน (Operating Lease) ซึ่งเป็นการเช่าระยะยาวตั้งแต่
1-5 ปี แก่ลูกค้าประเภทองค์กร รวมถึงบริการให้เช่ารถยนต์ระยะสั้นตั้งแต่รายวันถึงรายเดือนแก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้าบุคคล มอบบริการแบบครบวงจรด้วยรถยนต์ที่ได้มาตรฐาน และมีรถยนต์ให้เลือกหลายรุ่นหลายขนาดตามรูปแบบการใช้งาน รวมถึงดำเนินธุรกิจจำหน่ายรถมือสองคุณภาพดีภายใต้มาตรฐานแบรนด์ “โตโยต้า ชัวร์”
นายพิชิต จันทรเสรีกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด กล่าวว่า“ KCAR มีฐานลูกค้าเป็นองค์กรชั้นนำกว่า 1,200 แห่ง แบ่งเป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ราว 85% และอีกประมาณ 15% เป็นหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยบริษัทฯ มีศูนย์บริการมากที่สุดในตลาดกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ นายพิชิต จันทรเสรีกุล อธิบายว่า “สัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่ยังมาจากธุรกิจรถเช่า 59% รองลงมาเป็นรายได้จากการจำหน่ายรถใช้แล้ว 39% และอีก 2% เป็นรายได้จากส่วนอื่น ๆ ในปีนี้เราตั้งงบลงทุนไว้กว่า 1 พันล้านบาทเพื่อซื้อรถใหม่ 1,000 คัน เนื่องจากแต่ละปีจะมีรถที่ครบอายุสัญญาราว 1,200 – 1,500 คัน โดยปัจจุบันมีรถในพอร์ตให้เช่ามากกว่า 9,000 คันเป้าหมายในระยะยาวของ KCAR ไม่เคยมุ่งเน้นการเป็นผู้เล่นเบอร์หนึ่งในด้านฟลีท แต่เราเน้นการเติบโตอย่างมั่นคงขององค์กร เราจึงยกระดับบริการและความเชี่ยวชาญของทีมงานอยู่ตลอด เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า เรายืนหยัดเป็นผู้เล่นที่เน้นการบริหารแบบ Optimum คือคำนึงถึงจุดที่สมบูรณ์ที่สุด ทั้งในแง่การบริหารความเสี่ยง การเติบโต กำไร และการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในอีโคซิสเต็มของเรา”