HERE Technologies ผู้นำแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและข้อมูลLocation Data เปิดเผยผลการศึกษาใหม่ APAC On The Move นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งและลอจิสติกส์ (Transportation and Logistics หรือ T&L) ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับแนวโน้มและแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนโฉมห่วงโซ่อุปทาน การจัดการยานพาหนะ และการจัดการด้านลอจิสติกส์
สาระสำคัญในรายงาน APAC On the Move 2023 เป็นรายละเอียดการติดตามสินทรัพย์แบบ End-To-End และเผยให้เห็นการมองเห็นและติดตามสถานะการขนส่ง (Visibility Shipments) นั้นยังเป็นความท้าทายสำคัญของธุรกิจลอจิสติกส์มาตลอดสามปีตั้งแต่เกิดการระบาด บริษัทลอจิสติกส์ไทยตอบแบบสอบถามระบุว่าความท้าทายในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดของการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายในการติดตามและจัดการความเคลื่อนไหวของข้อมูลในห่วงโซ่อุปทานแบบเรียลไทม์ (Real-Time End-To-End Supply Chain Visibility) นอกเหนือจากจะมีแรงจูงใจในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานก็ตาม
อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ของประเทศไทยกำลังเติบโต โดยในปี พ.ศ. 2566 เติบโตเป็นอันดับ 34 จาก 139 ประเทศ ในดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพลอจิสติกส์ (Logistics Performance Index หรือ LPI) ของธนาคารโลกบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพและคุณภาพในบริการลอจิสติกส์ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งประเทศไทยยังคงรักษาอันดับผู้นำ โดยทำคะแนน LPI อยู่ใน 11 อันดับแรกของของประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper-Middle-Income) ในปี พ.ศ. 2566 และยังอยู่ในอันดับต้นย้อนหลังไปสี่ปี ในปี พ.ศ. 2561, พ.ศ. 2559, พ.ศ.2557 และ พ.ศ. 2555ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง ประกอบกับความมุ่งมั่นของกระทรวงคมนาคมของประเทศไทยที่ตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัทลอจิสติกส์สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบด้วยการติดตามสถานะแบบเรียลไทม์และข้อมูลด้วยเทคโนโลยี IoT การศึกษายืนยันว่าบริษัทลอจิสติกส์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้เทคโนโลยี IoT อยู่แล้ว โดยใช้ในแอปพลิเคชัน IoT สำหรับการจัดการสินค้าคงคลัง (20%) การจัดการยานพาหนะ (18%) และการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (18%) เป็นที่นิยมมากที่สุดในบรรดาบริษัทลอจิสติกส์ของไทย
เมื่อมองไปในอนาคต พบว่าเกือบ 1 ใน 4 ของบริษัทลอจิสติกส์ในประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะลงทุนในโดรน (41%) ปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (32%) และบล็อกเชน (32%) เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์ เทคโนโลยีเหล่านี้ภาคธุรกิจลอจิสติกส์ระบุว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (36%) สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด (34%) และเพิ่มรายได้ (32%)