เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซีพี โตโยต้า และ CJPT มีความมุ่งหวังที่จะมีส่วนในการสร้างความสุขให้กับคนไทย 67 ล้านคน โดยมีการหารือระหว่างนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ มร.อากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะกรรมการบริหารของโตโยต้า (ในขณะนั้น) ซึ่งนำมาสู่ความไว้วางใจต่อกัน จึงได้มีข้อตกลงที่จะร่วมมือกันเพื่อหาทางออกสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “เริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ ร่วมกับพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน” โดยได้มีการบรรลุข้อตกลงเพื่อหาทางออกในสามด้าน ได้แก่ ทางออกด้านพลังงาน ทางออกผ่านการใช้ข้อมูล และทางออกด้านการเดินทาง โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศ และมุ่งหวังจะสร้างผลลัพธ์จากการดำเนินการโครงการภายในสิ้นปีนี้ ในการนี้ ได้มีเริ่มต้นการทดลองด้วยการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพที่นำมาจากฟาร์มสัตว์ปีก และการจัดกิจกรรมงานแสดงนวัตกรรมยานยนต์เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ในระยะเวลาที่ผ่านมา
- ทางออกด้านพลังงานการจัดการด้านพลังงานและใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงไฮโดรเจนค้นหาทางออกด้านพลังงานที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย อาทิ การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานไฮโดรเจน จากทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ชีวมวลและอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก
- ทางออกผ่านการใช้ข้อมูลการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งรวมถึงการบรรทุกและการจัดเส้นทางที่เหมาะสมเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในประเทศไทย และ Big Data ของ ซีพี และ CJPT
- ทางออกด้านการเดินทาง การจัดหาทางเลือกที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างในประเทศไทย
นำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ได้แก่ HEVs, BEVs และ FCEV รวมถึงยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับความพร้อมด้านพลังงาน และสภาวะเศรษฐกิจ ความพร้อมของลูกค้า และรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ระยะการขับขี่และน้ำหนักบรรทุก เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างและเพื่อเริ่มต้นดำเนินการทั้งสามด้านในทันที เราจะดำเนินการโครงการเพื่อสังคมที่ครอบคลุมทั้งวงจร การผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงาน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย รวมถึงการตรวจสอบประเมินผล และการนำเสนอผลดังกล่าวผ่านหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อนำไปใช้กับภูมิภาคอื่นต่อไป ทั้งนี้ ทั้งสามบริษัทฯ จะใช้โอกาสนี้เพื่อประเมินปริมาณการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน