จากความมุ่งมั่นในการรักษาผลสำเร็จในเชิงเศรษฐศาสตร์ระยะยาว ย้อนกลับไปในช่วงกลางของทศวรรษ ยุค 1990 ช่วงเวลานั้นปอร์เช่เริ่มต้นมีเหตุการณ์ให้ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ บริษัทได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ไม่สู้ดีจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รวมถึงยอดจำหน่ายรถยนต์ที่มีเพียง 23,060 คันในปีงบประมาณ 1991-1992 ซึ่งปอร์เช่ได้เริ่มต้นหาหนทางที่จะหลุดพ้นจากวิกฤติในครั้งนั้นด้วยการเปิดตัวปอร์เช่ บ๊อกสเตอร์ (Boxster) ในปี 1996 แต่ทีมผู้บริหารเล็งเห็นว่า การมีเพียงรถสปอร์ตระดับตำนานปอร์เช่ 911 และโรดสเตอร์เครื่องยนต์วางกลางคันใหม่ จะไม่สามารถนำพาบริษัทให้รอดไปถึงอนาคตได้ จึงได้เริ่มต้นวางแผนการสำหรับเปิดตัว ‘ปอร์เช่คันที่ 3’ แต่ด้วยในระยะแรกยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน Segment ใดของแบรนด์ปอร์เช่ จากคำแนะนำของหน่วยงานด้านการขายในสหรัฐอเมริกา บริษัทได้ตัดสินใจเลือกใช้ Seqment off-road แทน MPV ให้กับรถปอร์เช่ รุ่นคาเยนน์ ซึ่งถือเป็นรถยนต์ที่กำลังได้รับความนิยมในพื้นที่แถบอเมริกาเหนือ และเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของปอร์เช่ ในขณะนั้น Wendelin Wiedeking ผู้บริหารสูงสุด หรือ CEO ได้ตั้งเป้าขยายไปในส่วนของทวีปเอเชียซึ่งถือเป็นตลาดใหม่อีกด้วย จากความมุ่งมันสู่ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศตั้งแต่เริ่มต้น ปอร์เช่ไม่เพียงตั้งเป้าหมายที่จะสร้างสรรค์รถสปอร์ต SUV ในแนวทางของตนเองเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นไปที่ความคุ้มค่าในระดับที่เหนือกว่ารถยนต์ off-road ของคู่แข่ง
ซึ่งภารกิจที่สำคัญในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นความร่วมมือระหว่าง Volkswagen ภายใต้ชื่อโครงการ ‘Colorado’ และถูกประกาศตัวอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายนปี 1998 ซึ่งปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) และ Volkswagen Touareg มีรูปแบบโครงสร้างที่เหมือนกัน แต่ในส่วนงานด้านสถาปัตยกรรมการออกแบบและเครื่องยนต์ จะถูกพัฒนาไปในทิศทางที่แตกต่างกันออกไปตามความชำนาญและเชี่ยวชาญเฉพาะตัวของแต่ละผู้ผลิต รวมทั้งพัฒนาปรับแต่งช่วงล่างในแนวทางของตนเอง ซึ่งทางปอร์เช่เองมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการพัฒนา platform โครงสร้างที่ใช้ร่วมกัน ในพื้นที่สำนักงาน ณ เมือง Hemmingen และในส่วนของ Volkswagen รับหน้าที่จัดสรรกำลังการผลิตด้วยความเชี่ยวชาญ ซึ่งในปี 1999 ทางปอร์เช่เองตัดสินใจเลือกที่จะผลิตและประกอบรถยนต์รุ่นดังกล่าวที่โรงงานในเมือง Zuffenhausen ประเทศเยอรมนี แทนการนำไปผลิตและประกอบในประเทศเพื่อนบ้านรอบข้าง และจากนั้นทางปอร์เช่จึงก่อตั้งโรงงานแห่งใหม่ในเมือง Leipzig ซึ่งถูกเปิดดำเนินสายการผลิตอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมปี 2002 และทางด้านของ Volkswagen จะดำเนินการผลิตรถยนต์รุ่น Touareg โดยโรงงานของ Volkswagen เองในเมือง Bratislava ประเทศสโลวาเกีย รวมทั้งดำเนินการด้านสายงานการพ่นสีตัวถังรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) ที่โรงงานแห่งนี้ด้วยเช่นกัน ส่วนสายงานการประกอบขั้นสุดท้ายของรถปอร์เช่ทั้งเจเนอเรชั่นแรกและเจเนอเรชั่นที่ 2 จะถูกประกอบขึ้นที่แคว้น Saxony โดยใช้ชื่อรหัสเรียกว่า E1 และ E2 ตามลำดับ สำหรับรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) ทั้ง 2 เจเนอชั่นนั้นล้วนผ่านการประกอบและผลิตขึ้นในโรงงานที่เมือง Leipzig และต่อมาในปี 2017 ได้มีการเปิดตัวรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) เจเนอเรชั่นที่ 3 (E3) โดยถูกประกอบและผลิตขึ้นที่โรงงานในเมือง Osnabrück ปอร์เช่จึงได้ย้ายสายการผลิตรถรุ่นคาเยนน์ (Porsche Cayenne) ทั้งหมดกลับมาที่เมือง Bratislava ประเทศสโลวาเกีย เพื่อเปิดโอกาสให้โรงงานในเมือง Leipzig ได้เพิ่มกำลังการผลิตสำหรับการประกอบรถสปอร์ตซีดาน ปอร์เช่ พานาเมร่า (Porsche Panamera) และรถสปอร์ต compact SUV ปอร์เช่ มาคันน์ (Porsche Macan) ที่สุดของรถสปอร์ต off-road ด้วยสมรรถนะรอบด้านพร้อมความสะดวกสบายที่ครบครัน
ด้วยขนาดของตัวรถ ที่มีความกว้างขวางอย่างลงตัว ทำให้รถปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) กลายเป็นที่สุดของรถประเภท off-road สายพันธุ์แกร่งตอบโจทย์การเดินทางของทุกคนในครอบครัวได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยสมรรถนะการขับขี่สไตล์สปอร์ตที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของรถปอร์เช่ทุกคัน ผนวกกับคุณลักษณะอันเฉพาะตัวของรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) พร้อมมอบความสะดวกสบายและอรรถประโยชน์ในระดับสปอร์ตหรูที่ครบครันมากกว่ารถ SUV ในระดับเดียวกันมานานกว่า 20 ปี ซึ่งรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรก (E1) ได้เริ่มต้นอย่างทรงพลังในแบบที่เราจะได้เห็นจากปอร์เช่ มาพร้อมกับทางเลือกของเครื่องยนต์แบบ V8 สองพิกัด สำหรับรุ่น คาเยนน์ เอส (Cayenne S) ติดตั้งเครื่องยนต์ขนาดความจุ 4.5 ลิตร ที่พัฒนาขึ้นใหม่ล่าสุด พร้อมพละกำลังความเร็วสูงสุดถึง 340 แรงม้า (250 กิโลวัตต์) ขณะที่ คาเยนน์ เทอร์โบ (Cayenne Turbo) กระชากใจด้วยความแรงที่ขยับขึ้นเป็น 450 แรงม้า (331 กิโลวัตต์) จากความจุกระบอกสูบเท่ากัน ทั้ง 2 รุ่นทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 242 และ 266 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามลำดับ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อลูกค้าผู้ที่หลงใหลในรถสปอร์ต ในความคาดหวังต่อการควบคุมระบบช่วงล่างชั้นเยี่ยม จากประสิทธิภาพการเข้าโค้งที่ถูกจัดการโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ล่าสุด ระบบ Porsche Traction Management (PTM) กระจายกำลังขับเคลื่อนระหว่างเพลาขับทั้ง 2 ข้างในอัตราส่วน 62:38 เมื่อขับขี่ในสภาวะปกติ ระบบขับเคลื่อนสามารถปรับเปลี่ยนอัตราการกระจายกำลังจากชุดคลัทช์ multi-plate และส่งต่อไปยังล้อหน้า และล้อหลังในอัตราเร่ง 0:100 จนถึง100:0 เมื่อจำเป็น และเมื่อหลุดออกจากทางเรียบไปสู่เส้นทาง off-road ผู้ขับขี่ปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) สามารถเชื่อมั่นในชุด low-range transfer box ว่าจะยึดเกาะกับถนนได้เป็นอย่างดี ส่วนเฟืองท้าย fully locking centre-differential มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการล้อหมุนฟรี แม้ในขณะล้อลอยพ้นจากพื้น ด้วยขุมพลังแห่งสมรรถนะดังกล่าว จึงทำให้รถยนต์ off-road คันแรกของปอร์เช่นั้นยอดเยี่ยม ไม่น้อยไปกว่ารถยนต์ off-road ของคู่แข่งในระดับเดียวกัน แม้กระทั่งในขั้นตอนการขับทดสอบระหว่างกระบวนการพัฒนา
คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรก (E1) นับเป็นรถยนต์รุ่นแรกของปอร์เช่ที่ได้รับการติดตั้งระบบ PASM ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ล่าสุด ทั้งนี้ระบบ Porsche Active Suspension Management จะทำหน้าที่ร่วมกับช่วงล่างแบบชุดถุงลม air suspension ซึ่งจะทำการแปรผันค่าแรงดันภายในถุงลมอย่างต่อเนื่อง โดยคำนวณจากสภาพของพื้นถนน และสไตล์การขับขี่รถยนต์ของผู้บังคับพวกมาลัย นอกจากนี้ช่วงล่างแบบชุดถุงลม air suspension ยังมีส่วนช่วยเสริมสมรรถนะด้าน off-road ให้แก่รถปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ด้วยความสูงใต้ท้องรถถึง 21.7 เซนติเมตรที่วัดได้จากช่วงล่างตามมาตรฐาน จะสามารถเพิ่มขึ้นสูงสุดได้ถึง 27.3 เซนติเมตร ด้วยประสิทธิภาพของระบบควบคุมระดับความสูงภายในชุดถุงลม air suspension ในช่วงต้นปี 2006 ปอร์เช่ได้ตอกย้ำถึงความเหนือชั้นในด้านสมรรถนะการขับขี่บนพื้นทางเรียบอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว คาเยนน์ เทอร์โบ เอส (Cayenne Turbo S) ที่ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากพละกำลังเครื่องยนต์สูงสุดถึง 521 แรงม้า (383 กิโลวัตต์) จากขุมพลังความจุของเครื่องยนต์ถึง 4.5 ลิตร V8 เทอร์โบคู่ เหนือกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ ณ เวลาในขณะนั้น
ด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวของปอร์เช่คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นที่ 3 รุ่น plug-in hybrid สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 135 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งได้ไกลถึง 44 กิโลเมตร โดยไม่มีการปล่อยมลภาวะออกจากท่อไอเสียแม้แต่น้อย และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในช่วงทดสอบตามมาตรฐาน WLTP อยู่ที่ 24.3 ถึง 32.2 กิโลเมตรต่อลิตร หรือ 3.1 ถึง 4.1 ลิตรต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับโหมดการขับขี่ที่ตั้งค่าไว้รวมถึงยางรถยนต์อีกด้วย สำหรับรุ่น hybrid ที่ใช้แบตเตอรี่ high-voltage ขนาด 17.9 kWh และมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนพละกำลัง 100 kW นอกจากจะมอบประสิทธิภาพให้แก่ตัวรถที่ดีแล้ว แต่ยังคงไว้ซึ่งสัมผัสแห่งประสบการณ์การขับขี่สไตล์สปอร์ตหรูที่ไม่เหมือนใคร โดยการนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีอันเปี่ยมไปด้วยสมรรถนะชั้นยอดของยนตกรรม hybrid จากปอร์เช่ 918 Spyder กับสุดยอดรถซุปเปอร์สปอร์ต ในสายการผลิต สามารถทำเวลาทดสอบต่อรอบสนามที่ Nürburgring-Nordschleife ได้เร็วที่สุดในขณะนั้นด้วยความเร็วแรงในการขับเคลื่อนที่โดดเด่นด้วยระบบ hybrid
ปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ที่ทรงพลังที่สุดคือรุ่น เทอร์โบ เอส อี ไฮบริด (Turbo S E-Hybrid) ซึ่งเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2019 ที่พกพาพละกำลังรวมทุกระบบสูงสุดถึง 680 แรงม้า (500 กิโลวัตต์) เช่นเดียวกับรถยนต์ plug-in hybrids ทุกคันจากปอร์เช่ ซึ่งผู้ขับขี่รถสปอร์ตรุ่นนี้ สามารถใช้พลังไฟฟ้ามาเสริมแรงเร่งได้ในทุกโหมดการขับขี่ ตัวอย่างเช่น คาเยนน์ เทอร์โบ เอส อี ไฮบริด (Cayenne Turbo S E-Hybrid) นั้นมีความแรงเร่งความเร็วรวมระยะได้ในระดับมหาศาลมากกว่าถึง 900 นิวตันเมตร พร้อมทะยานสู่ความเร็วนั้นได้ทันทีที่แตะคันเร่ง สามารถทำให้การออกตัวของรถสปอร์ต SUV รุ่นนี้จากความเร็ว 0 ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ภายใน 3.8 วินาทีเพียงเท่านั้น ซึ่งการใช้งานในชีวิตประจำวันที่หลากหลายรูปแบบ ผู้ขับขี่สามารถไว้วางใจกับโหมดการขับขี่อัจฉริยะ พร้อมสนุกสนานไปกับพละกำลังมหาศาลที่มาพร้อมความประหยัดในการใช้พลังงานได้สบายใจ
กลับไปในปี 2007 รากฐานของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน คือรุ่นปรับโฉมของปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรก ซึ่งมีความใกล้เคียงกับรถยนต์ต้นแบบ series-production concept study ของ คาเยนน์ เอส ไฮบริด (Cayenne S Hybrid) ได้ถูกนำมาจัดแสดงในงานมหกรรมยานยนต์ IAA ซึ่งปอร์เช่แตกต่างจากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในระบบ power-split hybrid ได้ และยังทำให้มั่นใจในระบบ parallel full hybrid ได้อีกด้วย และด้วยการดีไซน์ในลักษณะนี้ มอเตอร์ไฟฟ้าจะมีบทบาทตั้งแต่รถเริ่มทำงาน จนกระทั่งวิ่งด้วยความเร็วสูง ผลลัพธ์คือรถยนต์ต้นแบบคันนี้สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยที่เครื่องยนต์สันดาปภายนไม่ต้องทำงาน ทั้งนี้มอเตอร์ไฟฟ้ายังมีส่วนช่วยในเรื่องของอัตราเร่ง และความยืดหยุ่น
ในที่สุดปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) รุ่นระบบขับเคลื่อนแบบ full hybrid ก็ออกสู่ตลาดในปี 2010 บนตัวถังเจเนอเรชั่นที่ 2 และถือเป็นรถยนต์ hybrid จากสายการผลิตคันแรกของปอร์เช่ จากผลจากการผนึกกำลังระหว่างเครื่องยนต์เบนซินความจุ 3 ลิตร V6 ซุปเปอร์ชาร์จ 333 แรงม้า และมอเตอร์ไฟฟ้าแบบซิงโครไนซ์ขนาด 47 แรงม้า (34 กิโลวัตต์) ให้พละกำลังรวม 380 แรงม้า (279 กิโลวัตต์) และต่อมาภายหลังอีก 4 ปี ปอร์เช่ถือกำเนิดรถยนต์รุ่น plug-in hybrid เป็นรุ่นแรก ซึ่งถือได้ว่าปอร์เช่เป็นผู้บุกเบิกรถยนต์ไฟฟ้าในระดับพรีเมียม SUV อย่างแท้จริง ถัดมาที่รุ่นคาเยนน์ เอส อี ไฮบริด (Cayenne S E-Hybrid) เป็นรุ่นที่สามารถวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวได้ในระยะทางมากกว่า 30 กิโลเมตร ส่งผลมาจากการที่แบตเตอรี่ nickel-metal hydride ถูกแทนที่ด้วย lithium-ion โดยที่เครื่องยนต์สันดาปภายในยังคงเดิม และในขณะที่มอเตอร์ขับเคลื่อนให้พละกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 95 แรงม้า (70 กิโลวัตต์) พลังรวมจากทุกระบบจะขยับขึ้นเป็น 416 แรงม้า (306 กิโลวัตต์)
ปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) คือรถสปอร์ตที่มีความครบครันรอบด้าน และผ่านบทพิสูจน์ความแข็งแกร่งมาแล้วในทุกสภาพอากาศที่สุดขั้ว ย้อนกลับไปเมื่อปี 2006 ทีมแข่งแรลลี่อิสระ 2 ทีม เข้าร่วมการแข่งขันรายการ Transsyberia Rally ด้วยรถปอร์เช่ คาเยนน์ เอส (Porsche Cayenne S) ระยะทางจาก มอสโก(Moscow) เดินทางข้ามไปยังไซบีเรีย (Siberia)ประเทศรัสเซีย จนถึง อูลานบาร์ตอ (Ulaanbaatar) ในประเทศมองโกเลีย และจบการแข่งขันได้ในอันดับที่ 1 และอันดับ 2 ตามลำดับ ทางปอร์เช่เองก็ได้รับแรงบันดาลใจจากชัยชนะในครั้งนี้ และนำพัฒนาเป็นรถแข่งรุ่น limited ด้วยโมเดลรุ่น คาเยนน์ เอส (Cayenne S) Transsyberia จำนวน 26 คัน เพื่อตอบโจทย์สำหรับการแข่งขันแรลลี่ทางไกล และตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้ากลุ่มมอเตอร์สปอร์ตในการแสวงหารถยนต์ที่พร้อมลงแข่งเพื่อคว้าแชมป์ ซึ่งกองทัพรถแข่งตัวแรงดังกล่าวสามารถสร้างผลงานชั้นยอดด้วยอันดับ 1 ,อันดับ 2 และอันดับ 3 ตามลำดับ ในรายการแข่งขัน Transsyberia 2007 และจบการแข่งขันด้วยสถิติการติดอันดับ top 10 ทั้งหมด 7 รายการ
ในฐานะรถแข่งที่มีพื้นฐานมาจากคาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรก ทำให้ปอร์เช่ คาเยนน์ เอส (Cayenne S) Transsyberia ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาโดย โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วยยางรถยนต์ชุดพิเศษ specialist all-terrain ,โครงสร้างตัวถังนิรภัย safety cage ,เพลาขับ shorter axle ratio, ฟันเฟืองท้ายแบบ differential lock พร้อมปีกนกคู่หน้าแบบ reinforced และแผ่นปิดใต้ท้องรถแบบ reinforced มาพร้อมพละกำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ V8 กับความแรงถึง 385 แรงม้า (283 กิโลวัตต์) รวมไปถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการแข่งขันแรลลี่นั้น ทำให้ถูกนำข้อได้เปรียบมาพัฒนาต่อยอดขุมพลังเครื่องยนต์ใหม่ มาพร้อมระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงตรงเข้าห้องเผาไหม้หรือเรียกว่าการ direct fuel injection ซึ่งจะลดอัตราสิ้นเปลืองลงได้สูงสุดถึง 15 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมระบบ Porsche Dynamic Chassis Control (PDCC) รุ่นล่าสุด ทำงานร่วมกับ active anti-roll bars ที่ลดอาการสั่นสะเทือนของตัวของรถเมื่อเข้าโค้ง รวมถึงการปรับแต่งการทำงานของเพลาขับของรถให้ส่งกำลังได้อย่างต่อเนื่อง และในปี 2008 รถแข่งปอร์เช่ คาเยนน์ เอส (Cayenne S) Transsyberia ทั้ง 19 คัน ได้ลงแข่งในรายการ Siberia Rally และสามารถจบการแข่งขันในอันดับที่ 6 ของการทำผลงานได้ดีจาก 10 อันดับแรก
รถปอร์เช่ คาเยนน์ เทอร์โบ จีที (Cayenne Turbo GT) ถือว่าเป็นรุ่นที่ทรงพลังในระดับแถวหน้าของโมเดลคาเยนน์ (Cayenne) ที่ต้องการระยะทางเพียงอีก 20.832 กิโลเมตรเท่านั้นเพื่อเป็นบทพิสูจน์แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะชั้นเลิศจากการแข่งขันรถยนต์แรลลี่ใน Transsyberia Rally ด้วยระยะทางรวมการแข่งขันมากกว่า 7,000 กิโลเมตร และต้องใช้ระยะเวลาในการแข่งขันประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่ง Lars Kern นักขับทดสอบสังกัดโรงงานของปอร์เช่ ได้สร้างสถิติดังกล่าวในประเภทของรถยนต์ SUVs บนสนามแข่ง Nürburgring-Nordschleife อันโด่งดัง โดยสามารถทำสถิติเวลาต่อรอบในสนามที่ 7:38.925 นาที เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2021 ที่ผ่านมาโดย ซึ่งตัวรถนั้นได้ผ่านการปรับแต่งเพื่อให้มีอัตราเร่ง และประสิทธิภาพในการบังคับควบคุมได้เป็นอย่างดี และสมรรถนะในรุ่น เทอร์โบ จีที (Turbo GT) สามารถมอบพละกำลังสูงสุดถึง 640 แรงม้า (471 กิโลวัตต์) ที่ได้จากเครื่องยนต์ขนาด 4 ลิตร V8 เทอร์โบคู่ คือสิ่งที่นำมาซึ่งคุณลักษณะของรถสปอร์ตเต็มตัว รวมไปถึงความสามารถในการเร่งความเร็วการออกตัวได้มากถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (62.14 ไมล์ต่อชั่วโมง) ภายในระยะเวลาเพียง 3.3 วินาที ความเร็วสูงสุดทะยานไปถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (186.14 ไมล์ต่อชั่วโมง) และอุปกรณ์พื้นฐานที่มาพร้อมกับตัวรถนั้น จะสามารถมอบประสบการณ์ความสปอร์ตหรูได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งห้องโดยสารภายใน ที่ถูกดีไซน์มาในรูปแบบ 4 ที่นั่งสไตล์รถสองประตูคูเป้ และรุ่นปอร์เช่ คาเยนน์ เทอร์โบ จีที (Cayenne Turbo GT) สามารถเลือกติดตั้งระบบช่วงล่างได้ตามความต้องการทุกรูปแบบ พร้อมยางรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงจากการถูกพัฒนาสำหรับรถรุ่นนี้โดยเฉพาะ พร้อมระบบขนส่งพละกำลังความเร็ว และระบบช่วงล่างที่ถูกปรับแต่งเป็นพิเศษ ผสมผสานอัดก่อเกิดความลงตัวตามแนวทางของรถสนามสายพันธุ์พันธ์แรงอัดเต็มไปด้วยสมรรถนะครบรอบด้าน
ผู้พัฒนาปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรกได้เล็งเห็นถึงความสามารถของรุ่นย่อยที่จะเปิดตัวออกมาเป็นตัวแทนรถในรูปแบบ on-road ไว้แล้ว จากการประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก หลังการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และการวางจำหน่ายรถรุ่นดังกล่าว ก็ได้เกิดขึ้นรุ่นย่อยตามมาในไม่ช้า และในระหว่างขั้นตอนการพัฒนารุ่น E1 เมื่อปี 1998 และในปี 2004 ทำให้ Oliver Laqua ผู้จัดการโครงการ คาเยนน์ (Cayenne) ในปัจจุบัน ผู้ซึ่งเคยทำงานตำแหน่ง concept engineer และทีมงานของเค้ามีความคิดเห็นตรงกันว่าการออกแบบคาเยนน์ (Cayenne) ควรออกแบบให้มีภาพลักษณ์แนวสปอร์ตมากยิ่งขึ้นในทุกด้าน ด้วยความมุ่งมั่นและปรารถนาอันแรงกล้าของวิศวกรหนุ่มที่มีความชัดเจนตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้เป้าหมายของ Oliver Laqua คือการพัฒนารถยนต์ที่มีน้ำหนักเบาลง ภายใต้ชื่อโครงการ ‘Roadrunner’ โดย Oliver Laqua กล่าวเอาไว้ว่า “เราต้องวางแผนการจัดการในชิ้นส่วนของชุด transfer case เนื่องจากมันสามารถลดน้ำหนักให้เบาลงได้ถึง 80 กิโลกรัม และเรายังพิจารณาถึงการนำเอาเบาะที่นั่ง racing bucket seats แบบ 4 ตำแหน่งมาใช้เพื่อลดน้ำหนักของตัวรถให้เบาลง รวมทั้งการยกระดับอัดแน่นความสปอร์ตให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงคือโครงการ ‘Roadrunner’ มีความเหมาะสมเป็นพิเศษกับรถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง แต่ยังสร้างความน่าสนใจให้กับบรรดาคณะกรรมการบริหารได้ไม่มากนัก เช่นเดียวกับเบาะ bucket seats ที่ไม่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการใช้งาน และเมื่อกลับพิจารณาถึงด้านระบบของการขับเคลื่อน นักพัฒนาได้คิดแนวทางในการทำงาน ด้วยเครื่องยนต์ V8 ไร้ระบบอัดอากาศ จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบ อีกทั้งโครงการนี้ ไม่ได้เพียงแต่คิดถึงพละกำลังที่จะได้จากความแรงของเครื่องยนต์เท่านั้น แต่ตัวรถต้องมีอัตราการตอบสนองที่ยอดเยี่ยมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้อุปกรณ์พื้นฐานที่ประกอบไปด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ และช่วงล่างที่ถูกปรับแต่งมาเป็นพิเศษ และเป็นครั้งแรกที่ทำให้ปรับระบบของช่วงล่างเป็นลักษณะของเหล็กกล้าและรับการเสริมประสิทธิภาพด้วยระบบ PASM ซึ่งระบบนี้ได้ถูกสงวนไว้ใช้กับรถสปอร์ตสองประตูมาโดยตลอด รวมทั้งชิ้นส่วนด้านหน้า และด้านหลังถูกปรับรูปแบบให้มีความใกล้เคียงกับรุ่น คาเยนน์ เทอร์โบ (Cayenne Turbo) รวมไปถึงซุ้มล้อที่ถูกเพิ่มขยายขนาดใหญ่ขึ้นฝั่งละ 14 มิลลิเมตร เพื่อเสริมภาพลักษณ์ที่ดุดันให้กับรถรุ่นใหม่อย่างเต็มพิกัด นอกจากนี้ความสูงของช่วงล่างยังลดลงถึง 24 มิลลิเมตรเมื่อเทียบกับ คาเยนน์ เอส (Cayenne S)
สำหรับที่มาของชื่อรุ่น 928 จีทีเอส (928 GTS) ซึ่งเป็นรุ่นที่ถูกยกเลิกการผลิตไปเมื่อปี 1995 รวมไปถึงชื่อของรุ่น 904 คาร์เรร่า จีทีเอส (904 Carrera GTS) ซึ่งเป็นรถปอร์เช่ในช่วงยุค 1960 โดยแรงบันดาลใจการตั้งชื่อของทั้ง 2 รุ่นนั้นถูกนำมาจากหนังสือประวัติศาสตร์ของปอร์เช่ โดยรถสปอร์ตปอร์เช่ทุกรุ่นที่มีอักษรต่อท้าย ‘GTS’ นั้นมีความหมายมาจากคำว่า ‘Gran Turismo Sport’ เป็นสิ่งที่แสดงถึงสมรรถนะของรถสปอร์ตที่ผนวกเข้ากับความโดดเด่นของศักยภาพในการเดินทางระยะยาว โดยรถปอร์เช่ คาเยนน์ จีทีเอส (Cayenne GTS) รุ่นแรกนั้น ได้เปิดตัวในปี 2007 ในฐานะรุ่นที่พลิกโฉมใหม่ของรถเจเนอเรชั่น E1 มีพละกำลังสูงสุดถึง 405 แรงม้า (298 กิโลวัตต์) จากเครื่องยนต์ขนาด 4.8 ลิตร ด้วยขุมพลังการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ด้วยระบบไร้การช่วยอัดอากาศที่ติดตั้งมาในเครื่องยนต์ของปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ทุกรุ่น ซี่งเจเนอเรชั่นที่ 2 ของรุ่น จีทีเอส (GTS) นั้นมีพละกำลังที่เพิ่มขึ้นมาให้เป็น 420 แรงม้า (309 กิโลวัตต์) สำหรับรุ่นที่ถูกปรับโฉมในปี 2015 ปอร์เช่ได้เปลี่ยนเครื่องยนต์จาก V8 ระบบไร้การช่วยอัดอากาศมาเป็น V6 เทอร์โบคู่ พร้อมประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นในหลายๆ ด้าน ถึงแม้จะมีความจุของกระบอกสูบที่ลดลง แต่สามารถให้พละกำลังที่สูงเพิ่มขึ้นมาถึง 20 แรงม้า (15 กิโลวัตต์) รวมทั้งประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากขึ้นกว่าเดิม และสำหรับคาเยนน์ จีทีเอส (Cayenne GTS) ในรุ่นปัจจุบัน ปอร์เช่ได้นำเครื่องยนต์ 8 สูบกลับมาติดตั้งในตัวเครื่องอีกครั้ง ด้วยการติดตั้งขุมพลังความแรงถึง 460 แรงม้า (338 กิโลวัตต์) ด้วยความจุเครื่องยนต์ขนาด 4 ลิตรแบบ V8 เทอร์โบคู่ ทำให้คาเยนน์ จีทีเอส (Cayenne GTS) นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความมีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ จึงส่งผลให้รถสปอร์ตปอร์เช่ในรุ่นปัจจุบัน ได้แบบอย่างวิธีการเสริมความครบถ้วนให้ตรงต่อความต้องการทุกระดับมาจากรุ่น จีทีเอส GTS
เพียงไม่นานหลังจากเปิดตัวครั้งแรกของโลกในงานมหกรรมยานยนต์ Paris Motor Show เมื่อเดือนกันยายนในปี 2002 ปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) กลายเป็นรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จไปทั่วโลก และถือเป็นอีกรุ่นหนึ่งที่มียอดจำหน่ายสูงเกินความคาดหมายอย่างมากจากเป้าที่ถูกตั้งเอาไว้ โดยปอร์เช่คาดการณ์เอาไว้ว่าจะมียอดส่งมอบต่อปีอยู่ที่ปีละ 25,000 คัน และตลอดระยะเวลา 8 ปีของการทำการตลาดในเจเนอเรชั่นแรกนั้น มียอดจำหน่ายที่สูงถึง 276,652 คัน คิดเป็นยอดขายต่อปีเกือบ 35,000 คัน ซึ่งรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ก็ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องจนถูกจับจองเป็นเจ้าของถึงหลักล้านคัน และมีรุ่นที่ถูกผลิตและประกอบขึ้นจากสายการผลิตในช่วงฤดูร้อนตั้งแต่ปี 2020 ที่ผ่านมา ได้มีการทำเรื่องส่งมอบถึงมือลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวนกว่า 80,000 คันจากฐานข้อมูลในปี 2021 ล่าสุด