“At The Enlightenment”.. ณ ยุคทองของการตื่นรู้ (*ภาษาพุทธะ แปลว่า ตรัสรู้) @ 1970 ณ. ยุคตื่นทองของแรงม้ามหาศาล Toyota Japan Team น่าจะเป็นรายแรกหมัดหนัก ที่ฟัดกับ Can-Am Series ( Canadian-American Racing Series – การแข่งขันที่ไม่จำกัด CC และ แรงม้า และนั่นคือยุคที่ 700-800-1,000 แรงม้าได้ปรากฏบน สนามแข่งขัน แคน-แอม เวทีมวยหมัดหนัก ที่ไม่จะกัดคู่ชก ก ก ก )))
หลังจากการปฏิวัติในด้านการออกแบบและวัสดุศาสตร์ – Production Design ตลอดทศวรรษที่ 1960 มันเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่รถแนวคิดจำนวนมากในต้นปี 1970 นำเสนอภาพลักษณ์ที่สวยงามและล้ำสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ โตโยต้า EX-7 เป็นเพียงแนวคิดเช่นนี้ – วิสัยทัศน์เกี่ยวกับอากาศพลศาสตร์ของอนาคตที่ความเร็วและสไตล์ Hand-In-Hand ..เราไปด้วยกัน น น น น )))
1970 โตโยต้า EX-7 ..ไม่เข้าป่า ก็ไม่พบ..ราชสีห์
EX-7 Concept Car รถต้นแบบคันนี้ เป็นครั้งที่ 4 ในชุด รถแนวคิด -เพื่อการทดลอง EX-7 จึงเป็นคำนำหน้า “EX” Experimental Car & Technology ของ Toyota Japan อันมีต้นกำเนิดจาก สายพันธุ์มวยหมัดหนัก #Toyota -7 ในระดับ 700-800 Bhp เพราะบังเอิญว่าพก Twin-Turbo แฝดคู่ไปกับเครื่องยนต์ V8 ของ Toyota Team Can-Am ที่กำลังขึ้นรุ่นชกบนสังเวียนเหล็ก Can-Am Series ที่ตระเวนแข่งขันอย่างยิ่งใหญ่ทั้งใน USA-Canada สองประเทศ ลาว-ไทย..เอ๊ย !,..สองประเทศคู่ซี้ )))
ดังปรัชญาที่ว่า “ไม่เข้าป่า..ก็ไม่พบราชสีห์” จากแนวคิด Supercars ที่โตโยต้าใช้อ้างอิงถึงต้นกำเนิดของรถแข่ง Toyota 7 The Can-Am Style ในห้วงยุคเดียวกัน โตโยต้าจึงได้ดำหริที่จะขึ้นเวทีหมัดหนักระดับ #1971 Lamborghini Countach LP500 ด้วย EX-7 รถต้นแบบเพื่อวิจัย Experiment Seven แนวคอนเซ็พท์คาร์ เพื่อเป็นแนวคิดการออกวิจัย เพื่อได้ค้นพบว่า “ซูเปอร์คาร์สายเลือดบูชิโด” ที่แท้จริงนั้นเป็นไปได้ ภายใต้เทคโนโลยีแข่งขันระดับ 700-800 Bhp เท่าที่ Can-Am Series จะเปิดช่องทางให้ โลกซูเปอร์คาร์ยุคต้นนั้นได้เแสดงถึงการก้าวกระโดดในอนาคตของ..โตโยต้า เท่าทัน Ferrari-Lambo และ Porsche ที่กำลังแอบ พัฒนาเครื่องยนต์แข่งขัน Can-Am ถึง 1,100 แรงม้า Twin-Turbo !?!
@Tokyo Motor Show ครั้งที่ 4th ประจำปี 1970
ครานั้นงานแสดงรถยนต์ประจำ 2 ปี @ Tokyo Motor Show ครั้งที่ 4th ประจำปี 1970 ใต้ดาดฟ้า Harumi Fairground สถานที่จัดงานที่รองรับผู้ชมเทียบเท่ากับ London-Frankfurt-Geneva & Detroit Auto Show ท้อป 1-2-3-4 สุดอลังก์เทศกาลรถยนต์ประจำปี ก็เห็นจะมี Tokyo Motor Show น่าจะหายใจรดต้นคอฝรั่ง ด้วยจำนวนผู้ชมระดับ 1 ล้าน Visitors เทียบเท่าทวีปยุโรป-อเมริกัน
@1970 ปีนั้น..Toyota Japan + พันธมิตรยานยนต์ยุ่น Japan Automobiles Industry เหมือนติดยาไอซ์ –ยาอี ยุคที่พร้อมด้วยทรัพย์-แนวความคิด-และการสร้างสรรค์เหนือความเป็นจริง..ยิ่งกว่า Avant-garde-แนวอวกาศ เมื่อ บู๊ธแสดงของโตโยต้า ณ ฮารุมิ แฟร์กรานด์ ปี 1970 นั้น ได้ตั้งแสดงรถต้นแบบเพื่อวิจัยคันที่ 4 The Experiment EX-7 บนโครงสร้างหลักของ Toyota -7 ที่ห้องเครื่องยนต์ด้านหลังห้องขับ Mid-Ship ที่แนบชิดแผ่นหลังด้วยเครื่องยนต์ Can-Am ของ Toyota -7 มหึมาพิกัด 5.0 ลิตร V8 –Twin Turbo พลัง 800 Bhp ที่ถูกมองว่าเกินขีดจำกัด สำหรับแนวคิด Concept Car เกี่ยวกับรถยนต์บนท้องถนน
EX-7 วางมาด Luxury ขณะที่ Supercars สายอิตาลี..มีแค่ Cock-Pit ห้องขับ
ที่โตโยต้า EX-7 เด่นล้ำทำได้เหนือกว่า คือ ห้องขับระดับ Roll-Royce , Bentley etc. นานามีในยุต GT-Grand Touring Cars สายยุโรป อิตาลี ด้วยว่า EX-7 ลั่นๆ ขึ้นไปเล่นระดับ มวยหมัดหนัก Toyota-7 Can-Am = 800 Bhp..HA Ha ha a a )))
รูปร่างดีไซน์เหนือกว่า แนวซูเปอร์คาร์เต็มลำ
EX-7 เป็นรถแนวคิด 2 ที่นั่ง GT ที่ผลิตโดยโตโยต้า ที่ใช้เครื่องยนต์ 5 ลิตร (310 ลูกบาศ์กใน) นั้นคล้ายกับเครื่องยนต์ของโตโยต้า 7 ยกเว้นว่า EX-7 ไม่มีเทอร์โบชาร์จเจอร์ โตโยต้า 7 มี 800 Bhp ที่มีระบบกันสะเทือนอิสระจาก ปีกนก 2 ชั้นอิสระ 4 ล้อ – 4 Double – Wishbone Independent Suspension + M/T 5 Speed เกียร์ธรรมดา
รูปร่างดีไซน์เหนือกว่า แนวซูเปอร์คาร์เต็มลำ โดยมีจมูกแบนยาวด่านหน้าเป็นห้องสัมภาระเพื่อการเดินทางไกล ผสมผสานแนว Avant-garde ประทุนใสไปรอบห้องโดยสาร ด้วยกระจกหน้าแผ่นใหญ่ทำลายสถิติทุกซูเปอร์คาร์ ด้วยช่วงล้อ Wheelbase ช่วงล้อหน้าถึงล้อหลังยาว ว ว ว กว่าด้วยเครื่องยนต์ V8 –Mid Ship ทีวางแนวยาว และประตู Gull-Wing ที่ยกสูงๆ (มีรูปร่างเหมือน #1969 Benz C111 ที่ autowoke.com เคยวิวไว้ในวีคก่อนๆ ) ประตูปีกนางนวลนี้บานหนักใหญ่ด้วยแผ่นกระจก Plexiglass กระจกเซฟตี้ – โปรงใสบานโต ยกด้วย Damping กระบอกโช้คเสริมแรงยก ขนาดเล็กที่แอบบานพับแนบเนียนไว้อย่างฉลาด ด ด ด ..อยู่ที่ด้านหลังของส่วนหลังคาของประตูและประตูแต่ละบานเปิดไปด้านหลังซึ่งยุคนั้น Benz C-111 ยังต้องอาย ย ย ย ..ในการซ่อนบานพับอย่างแนบเนียน น น ของ EX-7
ภายในระบบ Hand –In-Hand แตะง่ายใกล้มือ
ด้วย แรงม้าต่อ นน. – Power weight –To-Ratio 800 Bhp / 1 Ton การออกแบบภายในต้องฉับไว้และชาญฉลาด โตโยต้าตัดแนวคิด GT ที่เคยหรูหราด้วยขอบ Meters มาตรเกจ์วัดแนว GT ที่แวววาวเพื่อลดการรบกวนสายตาขณะซิ่ง ง ง !?!
ภายใน EX-7 จึงเน้น Avant-garde เหนือจริงอย่างยานอวกาศ ที่วงการถือเป็น Fantasy แฟนตาซีที่บริสุทธิ์ สองที่นั่งสามารถปรับขยาย-ขยับข้าง – เลื่อนไปข้างหน้าได้เท่าที่ไซส์และนน.ของผู้ขับจะหลับ..เอ๊ย !..ขับสบายๆ งานสร้างที่เด่นคือ คอนโซลกลางแบบแยก ซึ่งประกอบด้วยสวิตช์และตัวควบคุมระบบต่าง ๆ ( *และ Top ที่ใส่เทปคาสเซ็ตระบบเสียงสุดล้ำกว่าวิทยุ AM-FM ที่ ด้านบน !) ล้อมเล่นไปกับ คันเกียร์ 5Speed ที่ยื่นออกมาระหว่างเขาและเธอ..ทั้งสอง พวงมาลัยวางต่ำแบบ Can-Amและแผงแดชบอร์ดเป็นกระบอกเงิน ที่บรรจุนาฬิกา และมาตรวัดความเร็ว Analog ซึ่งโตโยต้ารวมห้องโดยสารทั้งหมดนี้ว่า Hand-In-Hand จับมือกัน น น น )))
เมื่อเข้าป่าล่าสิงโต..แต่ห้ามยิง ง ง ง )))
ณ. ยุค’ 70s นั้นเห็นได้ชัดว่า Toyota Japan พยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อแจ้งเกิดบนระดับ Top –Class ด้วยผลงาน EX7 ( ด้วยพื้นฐานมวยหมัดหนัก Toyota -7 = Twin Turbo 800 แรงม้า
แต่ไฉนในแนวทางเพื่อผลิต EX-7 กลับไม่สัมฤทธิ์ผล โตโยต้าต้องถอดใจจากแนวคิดที่แปลกประหลาด เมื่อเกณฑ์กติกาอุตสาหกรรมยานยนต์ยุคนั้น จำกัดความปลอดภัยไว้เพียง 450 Bhp นี่คือ “กฎเหล็ก” ที่ทำให้ Twin-Turbo 800 Bhp ดังนั้นเทอร์โบชาร์จเจอร์คู่ สุดจิ้น น น ของโตโยต้า 7 จึงถูกถอดออกเพลื่อลดลงเหลือ 450 Bhp ที่คู่ควรเพื่อการขายและการขับขี่บนท้องถนน Road Cars ที่เป็นไปได้ในยุค Lambo-Ferrari และ Porsche ครองสนามแข่ง-ครองเมือง..ครองโลก !?!
จึงมีผลให้โครงการ EX-7 จำยุติลง..เมื่อเข้าป่าล่าสิงโต..แต่ห้ามยิง ง ง ง
สโลแกนโตโยต้า.. ‘Today, Tomorrow, Toyota’ ..ด้วยนิยามโตโยต้าว่า ‘วันนี้, พรุ่งนี้, โตโยต้า’
สำหรับยักษ์ใหญ่ Toyota-Japan ทางบริษัทยังได้เก็บใช้ Concept แนวคิด EX-7 ในสื่อโฆษณาของแบรนด์ Toyota เพื่อเชื่อมอดีตกาลเวลาของโตโยต้า สู่ลูกหลานผลิตภัณฑ์ผลงานปัจจุบันและอนาคต ซึ่งอันที่จริงแล้วนับว่าคุ้มค่าต่อ คำขวัญตราสินค้าของโตโยต้าด้วย Toyota Slogan นิยามโยโตต้า ที่ประกาศมาตั้งแต่ปี 2001 ว่า ‘Today, Tomorrow, Toyota’ ด้วย Slogan นิยามว่า ‘วันนี้, พรุ่งนี้, โตโยต้า’
(Source : Andrew Biddle – blog.toyota.co.uk)
(หมายเหตุ : ประวัติศาสตร์การแข่งขัน Can-Am ที่สนามแข่งรถนานาชาติ Edmonton ในปี 1966 – 1973 -1987
Can-Am เริ่มต้นจากการเป็นซีรี่ส์การแข่งขันสำหรับกลุ่มแข่งขันรถยนต์ Group 7 ที่ตระเวนแข่งขันในมอเตอร์สปอร์ตแคนาดา (Can) และ สหรัฐอเมริกา (Am) โดย แคน-แอมซีรีส์ ถูกควบคุมโดยกฎที่เรียกภายใต้ FIA กลุ่มที่ 7 ที่มีความจุเครื่องยนต์ไม่ จำกัด และไร้ข้อ จำกัด ทางเทคนิคอื่น ๆ
ในความหมายของ FIA Group 7 เป็นการเปิดฟรีสำหรับรถสปอร์ต; ด้วยกฎระเบียบมีน้อยที่สุด และอนุญาตให้มีขนาดเครื่องยนต์ไม่ จำกัด (และอนุญาตให้ใช้ Turbocharger และ Supercharger และ Jet –Turbine เครื่องยนต์กังหันไอ่พ่น ซึ่ง Toyota –Japan Team ได้นำรถแข่ง Toyota-7 Twin-Turbo 800 แรงม้า ซึ่งเป็นเพียง 1 เดียวแห่งเอเชียนทีม ที่นำเทคโนโลยีจากฝั่งเอเซียอาคเนย์ เข้ารวมต่อกรท่ามกลางค่ายมวยหมัดหนัก 700-1,000 แรงม้าจากสายตะวันตก USA-Canada-English-German-Australia- New Zealand )))