สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยจับมือเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าอีก 12 หน่วยงาน ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ณ ที่ทำการ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย อาคารเคเอกซ์ (KX Knowledge Xchange) เรื่อง การเชื่อมต่อการใช้งานของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเเบบปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าเเบบแบตเตอรี่ (BEV) ในประเทศไทย
โดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ มีความประสงค์จะเข้าทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อ ดำเนินการและประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าและแสวงหา แนวทางความร่วมมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ตกลงทำบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และเพื่อให้สามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าได้ในทุกเครือข่ายฯ และมีระบบการ ให้บริการที่เป็นมาตรฐาน เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางในความร่วมมือเพื่อให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า สามารถใช้เครื่องมือ เช่น บัตร หรือ QR code โปรแกรม หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ข้ามเครือข่ายๆ โดยไม่ จํากัดเฉพาะของเครือข่าย ในเครือข่ายหนึ่งเท่านั้น เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยง ระบบการเก็บค่าบริการจากผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้บริการต่าง เครือข่ายๆ ที่สามารถบริหารจัดการทั้งรายรับและรายจ่ายให้กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างเป็นธรรม
นอกจากนี้ภายในงานกลุ่ม Charging Consortium ของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ยังได้เปิดตัว EV charging station map กลาง ที่รวบรวมโลเคชั่น ของทุกสถานีอัดประจุไฟฟ้าในกลุ่ม Charging Consortium บนเว็บไซต์ http://www.evat.or.th บันทึกข้อตกลงร่วมกันฉบับดังกล่าวนี้ มีผลบังคับใช้นับจากวันที่ลงนามกับทุกฝ่ายเป็นระยะ เวลา 2 ปี ทั้งนี้ ในการประชุมคณะนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ในฐานะประธานคณะฯ ได้มอบหมายให้ 5 หน่วยงาน อันได้เเก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) การไฟฟ้านครหลวง (MEA) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เเละ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) (EA) พัฒนาและบริหารจัดการแพลตฟอร์มกลางของสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้สถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีการนำร่องในการเชื่อมโยงข้อมูลสถานีอัดประจุไฟฟ้า กลุ่มแรก ในเดือนสิงหาคม 2565 โดยมีรูปแบบเป็นไปตามแนวทางที่กลุ่ม EV Charging Consortium ทำการศึกษาและพัฒนาก่อนหน้านี้ และจะมีการต่อยอดเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานต่างๆ ของกลุ่มต่อไปในอนาคต