ปอร์เช่เสนอถึงมุมมองด้านเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญของการดักจับอากาศโดยตรง (Direct Air Capture – DAC) ซึ่งอยู่บนขั้นตอนการผลิตสินค้าในปริมาณมาก (mass production) เป็นการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกจากชั้นบรรยากาศในปริมาณมากโดยลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีนี้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการร่วมมือกับโฟล์ค สวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น (Volkswagen Group Innovation), บริษัท eFuelsเอช ไอ เอฟ โกลบอล (HIF Global) และ เอ็ม เอ เอ็น เอเนอร์จี้ โซลูชั่น (MAN Energy Solutions) ผู้ผลิตรถสปอร์ตรายนี้กำลังมองหาทางบูรณาการองค์ประกอบ DAC เข้ากับโรงงานนำร่อง eFuelsในชิลี วิธีการนี้สามารถใช้เพื่อสกัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากอากาศที่จำเป็นสำหรับการผลิต eFuelsที่โรงงานนำร่อง Haru Oni และ ณ การประชุมสุดยอด IAA ในมิวนิค เทรดแฟร์เซ็นเตอร์ (Munich Trade Fair Centre) ฮอลล์B2 บูธ Volkswagen Group ผู้วางแผนโครงการจะแสดงให้เห็นว่า DAC สอดคล้องกับกลยุทธ์ของปอร์เช่อย่างไร และจะอธิบายถึงรายละเอียดของแนวคิดและองค์ประกอบนี้สามารถทำงานได้อย่างไร
ข้อได้เปรียบที่สำคัญประการหนึ่งของเทคโนโลยี DAC คือสามารถสกัดก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ CO2 ได้ทุกสถานที่ที่มีพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีนี้ยังปรับขนาดได้ ส่วนไฟฟ้าสำหรับระบบกรองที่โรงงานนำร่อง eFuels Haru Oni สามารถสร้างขึ้นได้โดยใช้พลังงานลม ดังนั้นจึงมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนความร้อนที่ต้องการสามารถจัดหาได้จากกระบวนการสร้างไฮโดรเจนในโรงงาน eFuels
ปอร์เช่ดึงความเชี่ยวชาญของพันธมิตรอย่าง Volkswagen Group Innovation, HIF Global และ MAN Energy Solutions มาร่วมมือกัน นิโคลาย เออเดย์ (Nikolai Ardey) ผู้อำนวยการ Volkswagen Group Innovation กล่าวว่า “Volkswagen Group เคยระบุไว้ว่าการแยก CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศเป็นปัญหาสำหรับอนาคตในปี 2019 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เราได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมและความอยู่รอดทางเศรษฐกิจร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศในภาคการวิจัยและอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง การวิจัยของเราพบว่าเทคโนโลยีการดักจับอากาศโดยตรงที่สามารถปรับขนาดได้และสามารถแข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เมื่อร่วมมือกับปอร์เช่และพันธมิตรอื่นๆ ตอนนี้เราต้องการสร้างโรงงานต้นแบบและทดสอบแนวคิดโดยรวม เรากำลังตั้งตารอที่จะดำเนินโครงการเผชิญหน้าเพื่ออนาคตนี้ในประเทศชิลี