เป็นเรื่องยากเย็นสำหรับน้องใหม่ในการเจาะตลาดรถกระบะในเมืองไทย จึงต้องทำทุกวิถีทางที่ช่องว่างเปิดให้สำหรับค่ายทาทามีทั้งรถกระบะพื้นเรียบและกระบะใช้ก๊าซล้วนก็สามารถเจาะเข้าถึงเจ้าของกิจการได้เป็นอย่างดีแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จแม้ว่าจะเอาใจด้วยรถกระบะบรรทุกหนักที่มีการติดตั้งเพลาลอย สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อรถกระบะไปบรรทุกหนักที่เป็นเรื่องปกติทั่วไปอยู่แล้วสำหรับการขนส่งในเมืองไทย
ระบบทั่วๆไปที่ใช้อยู่ในระบบกระบะที่เน้นการบรรทุกเพียง 1 ตัน จะใช้เพลาทั่วๆไป ที่มีลูกปืนติดอยู่บนเพลาทำให้ต้องรับแรงกดจากตัวถังและรับแรงบิดจากเฟืองท้าย หากบรรทุกไม่หนักมากก็ไม่มีปัญหา แต่พอเจอการขนส่งสินค้ามากๆ แรงกดลงที่เพลาท้ายจะทำให้เพลาแอ่นและลูกปืนแตกได้ ค่ายทาทาจึงจับรถกระบะ ซีนอนไจแอนท์ 2 รุ่น มาทำแบบเฮฟวี่ ดิวตี้ ทั้งแบบเครื่องยนต์ดีเซลและรุ่นที่ใช้ก๊าซซีเอ็นจี ซึ่งเป็นกระบะพื้นเรียบรองรับการบรรทุกหนักอยู่แล้ว เพื่อความคุ้มค่าในการใช้งานอย่างหนัก ขนสิ้นค้าได้ครั้งละมากๆ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่าย
สำหรับทาทาซีนอน ไจแอนท์ เฮฟวี่ดิวตี้ จะเป็นรถกระบะรุ่นแรกของเมืองไทยที่ตั้งเพลาลอยเป็นอุปกรณ์มาตรฐานจากโรงงาน ทำให้ได้ความแข็งแรง ทนทาน สำหรับรองรับงานบรรทุกหนักได้เป็นอย่างดี โดยมีราคาสูงกว่ารุ่นเพลาธรรมดาประมาณ 2 หมื่นกว่าบาท
จุดเด่นของรถกระบะพื้นเรียบก็คือการวางวัสดุยาวๆ สามารถวางได้เต็มพื้นที่กระบะโดยไม่มีซุ้มล้อมาเกะกะ อีกทั้งฝากระบะทั้ง 3 ด้านก็สามารถเปิดออกได้ จึงไม่ต้องยกให้สูงมาก พวกสินค้าหนักๆ ที่คนยกไม่ไหวก็เป็นงานง่ายสำหรับการยกด้วยเครื่องจักรอย่างรถโฟล์คลิฟต์ไปวาง หากเป็นรถกระบะทั่วไป อาจจะเจออาการหน้าเชิด ท้ายห้อย แต่สำหรับทาทา ซีนอน ไจแอนท์ เฮฟวี่ ดิวตี้ ไม่มีปัญหา เมื่อมีการแบบเสื้อเพลาเป็นเหล็กอัดแข็ง ทำหน้าที่รองน้ำหนักโดยเฉพาะ
ระบบกันสะเทือนหน้าใช้แบบอิสระปีกนก 2 ชั้น ทอร์ชั่นบาร์ พร้อมโช้คอัพ ด้านหลังเป็นแบบแหนบแผ่นช้อน พร้อมโช้คอัพ ส่วนเพลาก็ทำหน้าที่แค่รับแรงบิดจากเฟืองท้ายเท้านั้นเอง ซึ่งจะมีลูกปืน 2 ตลับ ลดแรงเสียดทาน โดยมีฝาครอบขนาดใหญ่เพื่อไม่ให้เพลาท้ายหลุดออกมาเวลารถวิ่ง เป็นความแปลกใหม่สำหรับรถกระบะบรรทุกหนักที่ใช้เพลาลอย เวลาขับบนถนนทั่วๆไป เมื่อเติมลมยางแข็งไว้รองรับน้ำหนักของสินค้าที่บรรทุก ปรากฏว่าช่วงล่างนุ่มนวล ไม่โยนตัวเวลาเจอถนนเป็นคลื่น หรือ กระเด้งแบบรถสี่ล้อเล็กที่ใช้แชสซีตรงๆ
การใช้ความเร็วก็ไม่มีปัญหา เพราะเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร VVT DICOR รองรับได้อยู่แล้ว ซึ่งเครื่องยนต์ขนาด 2,179 ซีซี จะให้กำลังสูงสุด 140 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 320 นิวตัน-เมตร ที่ 1,700 – 2,700 รอบต่อนาที ระบบส่งกำลังเป็นเกียร์ธรรมา 5 สปีด คลัตซ์นิ่ม เกียร์เข้าง่าย ความเร็วเดินทางจะเหมาะสมสุดๆ ราวๆ 100 – 120 กม./ชม. จากการเดินทางจะสามารถทำได้เร็วกว่านี้อีกเล็กน้อย
สิ่งที่เจอบ่อยๆ สำหรับรถบรรทุกหนักคือรอบเครื่องยนต์ที่สูง แต่พอลองดูทาทารุ่นนี้กลับไม่ใช่รอบเครื่องยนต์ที่ใช้ต่ำพอๆ กับรถกระบะทั่วๆไป ความเร็วระดับ 100 กม./ชม. อยู่ที่ 2,000 รอบต่อนาที ทั้งๆ มีน้ำหนักบนกระบะกดอยู่เป็นตันก็ไม่มีปัญหาสำหรับอัตราเร่งของเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบแบบนี้ ในช่วงทางโค้งแคบๆ อาจจะมีบ้างที่เจออาการหน้าไวจากท้ายที่เหวี่ยงมากกว่าปกติด้วยน้ำหนักที่มาก แต่พอจับจังหวะได้ก็ไม่ใช่ปัญหาการเดินทาง