นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 77,943 คัน ลดลง 3.5% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,245 คัน ลดลง 22.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 48,698 คัน เพิ่มขึ้น 13.5%ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 38,196 คัน เพิ่มขึ้น 11.6%
ตลาดรถยนต์เดือนกันยายนมีปริมาณการขาย 77,943 คัน ลดลง 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 22.7% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 13.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 9 เดือน มีปริมาณการขาย 534,765 คัน ลดลง 29.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 38.2% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 24.2% เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกันยายน 2563
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 77,943 คัน ลดลง 3.5%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 23,757 คัน ลดลง 3.6% ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,438 คัน เพิ่มขึ้น 44.8% ส่วนแบ่งตลาด 19.8%
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,077 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.6%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 29,245 คัน ลดลง 22.7%
- อันดับที่ 1 ฮอนด้า 7,598 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 26.0%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 5,430 คัน ลดลง 44.0% ส่วนแบ่งตลาด 18.6%
- อันดับที่ 3 นิสสัน 2,240 คัน ลดลง 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 48,698 คัน เพิ่มขึ้น 13.5%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,327 คัน เพิ่มขึ้น 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,438 คัน เพิ่มขึ้น 44.8% ส่วนแบ่งตลาด 31.7%
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,124 คัน ลดลง 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 38,196 คัน เพิ่มขึ้น 11.6%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,332 คัน เพิ่มขึ้น 13.9% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,143 คัน เพิ่มขึ้น 51.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,124 คัน ลดลง 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,903 คัน โตโยต้า 2,147 คัน- มิตซูบิชิ 959 คัน – ฟอร์ด 514 – คัน- อีซูซุ 268 คัน – เชฟโรเลต 14 คัน – นิสสัน 1 คัน
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 34,293 คัน เพิ่มขึ้น 15.7%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,875 คัน เพิ่มขึ้น 59.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,185 คัน เพิ่มขึ้น 13.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
- อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,331 คัน ลดลง 24.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กันยายน 2563
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 534,765 คัน ลดลง 29.8%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 157,131 คัน ลดลง 36.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.4%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 123,526 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 65,047 คัน ลดลง 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.2%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 188,761 คัน ลดลง 38.2%
- อันดับที่ 1 ฮอนด้า 54,432 คัน ลดลง 27.2% ส่วนแบ่งตลาด 28.8%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 45,676 คัน ลดลง 48.5% ส่วนแบ่งตลาด 24.2%
- อันดับที่ 3 นิสสัน 19,349 คัน ลดลง 30.6% ส่วนแบ่งตลาด 10.3%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 346,004 คัน ลดลง 24.2%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 123,526 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 111,455 คัน ลดลง 30.5% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 24,829 คัน ลดลง 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 274,347 คัน ลดลง 25.8%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 114,313 คัน ลดลง 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.7%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 95,585 คัน ลดลง 33.3% ส่วนแบ่งตลาด 34.8%
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 24,829 คัน ลดลง 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 27,619 คัน โตโยต้า 11,484 คัน – มิตซูบิชิ 6,570 คัน – อีซูซุ 4,155 คัน – ฟอร์ด 3,570 คัน – นิสสัน 1,174 คัน –เชฟโรเลต 666 คัน
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 246,728 คัน ลดลง 23.6%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 110,158 คัน เพิ่มขึ้น 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 44.6%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 84,101 คัน ลดลง 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 18,259 คัน ลดลง 32.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%