นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสรุปยอดขายรถยนต์ครึ่งปีพ.ศ. 2567 ยอดขายสะสมตลาดรวม 308,027 คัน ลดลง 24.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ยอดขายสะสมตลาดรถยนต์นั่ง 119,326 คัน ลดลง 19.4% ยอดขายสะสมรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 188,701 คัน ลดลง 26.9% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายสะสม 108,437 คัน ลดลง 40.7%
สำหรับยอดขายประจำเดือนมิถุนายน 2567 ยอดขายตลาดรวม 47,662 คัน ลดลง 26.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 17,737 คัน ลดลง 27.1% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 29,925 คัน ลดลง 25.4% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 16,672 คัน ลดลง 39%
ตลาดรถยนต์ครึ่งปีพ.ศ. 2567 มียอดขาย 308,027 คัน ลดลง 24.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่ง มียอดขายสะสม 119,326 คัน ลดลง 19.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มียอดขายลดลง 26.9% ด้วยยอดขาย 188,701 คัน และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขาย 108,437 คัน ลดลงถึง 40.7% ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด 108,720 คัน คิดเป็นสัดส่วน 35.3% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้น 35.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ HEV เติบโตขึ้น 68.7% ด้วยยอดขาย 67,346 คัน ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 36,593 คัน เติบโตขึ้น 9.4 %
ตลาดรถยนต์เดือนมิถุนายน 2567 มียอดขาย 47,662 คัน ลดลง 26% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่ง ลดลง 27.1% ด้วยยอดขาย 17,737 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ลดลงเช่นกันที่ 25.4% ด้วยยอดขาย 29,925 คัน และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มี ยอดขาย 16,672 คัน ลดลงถึง 39% ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด 16,777 คัน คิดเป็นสัดส่วน 35.2% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมียอดขายรถยนต์ HEV เติบโตขึ้น 57.7% ด้วยยอดขาย 9,886 คัน ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 6,095 คัน ลดลง 11.6% ตลาดรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม มีแนวโน้มจะทรงตัว หรือลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงฟื้นตัวช้า
นายศุภกร รัตนวราหะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทั้งนี้ ในครึ่งปีแรก โตโยต้ามียอดขายรถยนต์รวมที่ 116,278 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดถึง 37.7% โดยเฉพาะ ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up + รถกระบะดัดแปลง PPV) มียอดขายรวมอยู่ที่ 49,689 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์เซกเมนต์นี้ถึง 45.8% สำหรับยอดขายรถยนต์นั่งอยู่ที่ 33,264 คัน คิดเป็นส่วนแบ่ง 27.9% ทั้งนี้ โตโยต้ามียอดขายรถยนต์ไฮบริดถึง 30,714 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 28.3% ของยอดจำหน่ายรถยนต์ในกลุ่มตลาด xEV ทั้งหมด ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในรถยนต์โตโยต้าของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี และผมต้องขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านอีกครั้งสำหรับทุกความไว้วางใจที่มีให้กับโตโยต้า”
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2567
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 47,662 คัน ลดลง 26.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า* 18,542 คัน ลดลง 11.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,077 คัน ลดลง 43.4% ส่วนแบ่งตลาด 14.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,125 คัน ลดลง 13.3% ส่วนแบ่งตลาด 12.9%
เลกซัส 64 คัน
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 17,737 คัน ลดลง 27.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า* 5,372 คัน ลดลง 27.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,380 คัน ลดลง 23.9% ส่วนแบ่งตลาด 19.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,696 คัน เพิ่มขึ้น 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 9.6%
เลกซัส 38 คัน (IS, ES, LM)
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 29,925 คัน ลดลง 25.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า* 13,170 คัน ลดลง 2.2% ส่วนแบ่งตลาด 44.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,077 คัน ลดลง 43.4% ส่วนแบ่งตลาด 23.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 2,745 คัน เพิ่มขึ้น 4.5% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
เลกซัส 26 คัน (UX, NX, RX, LBX, RZ)
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 16,672 คัน ลดลง 39%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,939 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 47.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,148 คัน ลดลง 44.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,637 คัน ลดลง 49.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.8%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,601 คัน โตโยต้า 982 คัน – อีซูซุ 819 คัน – ฟอร์ด 569 คัน – มิตซูบิชิ 197 คัน – นิสสัน 34 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 14,071 คัน ลดลง 36.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,957 คัน ลดลง 24.7% ส่วนแบ่งตลาด 49.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,329 คัน ลดลง 41.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,068 คัน ลดลง 47.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2567
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 308,027 คัน ลดลง 24.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า* 116,278 คัน ลดลง 15.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 46,260 คัน ลดลง 46.4% ส่วนแบ่งตลาด 15.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 43,499 คัน ลดลง 5.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.1%
เลกซัส 580 คัน
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 119,326 คัน ลดลง 19.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า* 33,264 คัน ลดลง 34.8% ส่วนแบ่งตลาด 27.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 24,630 คัน ลดลง 19.0% ส่วนแบ่งตลาด 20.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 9,887 คัน เพิ่มขึ้น 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%
เลกซัส 369 คัน
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 188,701 คัน ลดลง 26.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า* 83,014 คัน ลดลง 3.3% ส่วนแบ่งตลาด 44.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 46,260 คัน ลดลง 46.4% ส่วนแบ่งตลาด 24.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 18,869 คัน เพิ่มขึ้น 20.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%
เลกซัส 211 คัน
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 108,437 คัน ลดลง 40.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 49,689 คัน ลดลง 29.6% ส่วนแบ่งตลาด 45.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 40,593 คัน ลดลง 48.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 11,282 คัน ลดลง 43.9% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 18,856 คัน โตโยต้า 6,981 คัน – อีซูซุ 5,929 คัน – ฟอร์ด 4,263 คัน – มิตซูบิชิ 1,452 คัน – นิสสัน 231 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 89,581 คัน ลดลง 40.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 42,708 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 47.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 34,664 คัน ลดลง 48.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 7,019 คัน ลดลง 49.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%