เทคโนโลยียานยนต์กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมากไปสู่การเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์ ทั้งแบบอัตโนมัติ และยานพาหนะที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์คอนติเนนทอลได้ขับเคลื่อนการพัฒนานี้อยู่แล้วโดยการนำเสนอชุดโซลูชันที่ครอบคลุมสำหรับสถาปัตยกรรมบนเซิร์ฟเวอร์และเป็นผู้ผลิตรายแรกที่นำ Body High-Performance Computer (HPC) ออกสู่ตลาดด้วยรถ Volkswagen’s ID ซีรีส์ที่เป็นไฟฟ้า นอกจากแพลตฟอร์มสำหรับ HPC ที่เน้นโดเมนสำหรับส่วนคนขับ การจัดการข้อมูลและการเชื่อมต่อของรถ ความปลอดภัยในการขับขี่และไดนามิก หรือการขับขี่อัตโนมัติแล้วคอนติเนนทอลยังนำเสนอโซลูชันแพลตฟอร์มแบบแยกส่วน สำหรับ HPC แบบข้ามโดเมนอีกด้วย ตัว HPC แบบข้ามโดเมนเครื่องแรกจากคอนติเนนทอล ซึ่งเป็นศูนย์รวมของฟังก์ชันและฟีเจอร์จากโดเมนการควบคุมตัวถังและยานพาหนะจะถูกรวมเข้ากับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตจากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน
พอร์ตโฟลิโอด้านสถาปัตยกรรมและเครือข่ายของคอนติเนนทอลขยายออกไปโดยนำเสนอโซลูชันตัวควบคุมโซนที่ปรับขนาดได้พร้อมความสามารถข้ามโดเมนที่เพิ่มขึ้น Zone Control Units (ZCUs) อยู่ในโซนที่เป็นบริเวณใกล้เคียงกับเซ็นเซอร์และตัวกระตุ้นซึ่งทำหน้าที่เป็นเกตเวย์การสื่อสาร ผู้ผลิตรถยนต์สามารถเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถาปัตยกรรมยานยนต์ในอนาคตของพวกเขา ด้วยโซลูชันแบบโมดูลาร์แพลตฟอร์ม (แพลตฟอร์มที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ และสามารถนำมารวมกันได้) ของคอนติเนนทอล คอนติเนนทอลจะสาธิตวิธีที่ซอฟต์แวร์และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอันทรงพลัง โดยยึดตาม Continental Automotive Edge Framework ที่เปิดใช้งานฟังก์ชันใหม่และกำลังเปลี่ยนแปลงการเดินทางและการขนส่งอีกด้วย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของโมดูลาร์แพลตฟอร์มนี้เชื่อมต่อรถเข้ากับระบบคลาวด์และมีฟีเจอร์ตัวเลือกมากมายในการพัฒนา จัดหา และบำรุงรักษาฟังก์ชันระบบที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์มาก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถผสานรวมฟังก์ชันที่ต้องการใช้งานตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์ได้ง่ายๆ โดยการดาวน์โหลดเพื่ออัปเดตซอฟต์แวร์
คอนติเนนทอลมุ่งมั่นเพื่อนวัตกรรมใหม่สำหรับประสบการณ์การเดินทางและการขนส่งที่ราบรื่นอย่างต่อเนื่อง คอนติเนนทอลจะสาธิตโซลูชันที่ล้ำสมัยในด้านการออกแบบ นวัตกรรม และการทำงาน ที่เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์นี้ เช่น ShyTech Displays นวัตกรรมจอแสดงผลของคอนติเนนทอลที่ได้รับรางวัล ซึ่งดูเรียบง่ายและเพิ่มความปลอดภัยโดยไม่ส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันอื่นๆ พื้นผิวการควบคุมที่ทำจากปุ่ม แสงไฟ และสวิตช์ถูกซ่อนไว้และรวมเข้ากับจอแสดงผลในรูปแบบใหม่ล่าสุด แม้ว่าตัวเลือกการควบคุมทั้งหมดจะพร้อมใช้งานสำหรับผู้ใช้เสมอ แต่ผู้ใช้จะมองเห็นเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น แทนที่จะแสดง “พื้นที่ว่างเปล่าสีดำ” บนหน้าจอแสดงผลหรือปุ่มต่างๆ ที่มีอยู่จริง ShyTech Display ของคอนติเนนทอลสร้างการออกแบบพื้นที่คนขับที่น่าดึงดูดยิ่งขึ้น นำเสนอพื้นผิวที่หรูหราซึ่งสามารถสร้างให้ดูเหมือนลายไม้ คาร์บอนไฟเบอร์ หรือหนัง หน้าจอสามารถใช้เป็นโซลูชันต่อเนื่องโดยใช้ความกว้างเต็มพื้นที่ของแดชบอร์ด หรือสามารถใช้เพื่อสร้างพื้นที่โต้ตอบแบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ไม่เคยใช้จอแสดงผลแบบเดิมมาก่อน
การเติบโตของพื้นที่แสดงผลเป็นหนึ่งในแนวโน้มสำคัญในการตกแต่งภายในรถยนต์ แต่สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การรบกวนสายตาแก่ผู้ขับขี่ได้ คอนติเนนทอลจะนำเสนอนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลซึ่งคือ Switchable Privacy Display เป็นครั้งแรกที่งาน CES ด้วยเทคโนโลยีนี้ ผู้โดยสารสามารถมีส่วนร่วมกับเนื้อหามัลติมีเดีย เช่น วิดีโอหรือระบบสาระบันเทิงที่ไม่รบกวนสายตาของคนขับได้ เมื่ออยู่ในโหมดส่วนตัว ผู้โดยสารจะมองเห็นเนื้อหาและแสงไฟที่ส่องจากหน้าจอทั้งหมดได้ในมุมมองของตนเองเท่านั้น หน้าจอจะเปลี่ยนเป็นโหมดสาธารณะได้เพื่อให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้สัมผัสกับเนื้อหาที่เลือก หากจำเป็น และหากสถานการณ์การจราจรเอื้ออำนวย เนื่องจากตัวเลือกความบันเทิงเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในยานพาหนะ เทคโนโลยีอย่าง Switchable Privacy Display จึงจำเป็นต่อการลดสิ่งที่ก่อให้เกิดการเสียสมาธิของคนขับ
ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตเกือบ 400 คนในสหรัฐอเมริกาจากการชนที่เกี่ยวข้องกับการขับรถผิดทางถือเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สุด คอนติเนนทอลจึงได้นำเสนอการสาธิตระบบ Wrong Way Driver ซึ่งส่งเสริมความปลอดภัยโดยการเตือนผู้ขับขี่ที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับยานพาหนะที่เดินทางผิด เทคโนโลยีนี้อาศัยการผสมผสานระหว่างเซ็นเซอร์ของคอนติเนนทอล ระบบรถที่เชื่อมต่อ และอัลกอริธึมการทำ Heat Map ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ริมถนนเพื่อกำหนดเลนและทิศทางการเดินทาง การสาธิตที่สมจริงโดยให้ผู้ใช้อยู่หลังพวงมาลัยรถในสถานการณ์ที่มีคนขับผิดทาง ผู้เข้าร่วมจะได้สัมผัสประสบการณ์สถานการณ์ทั้งที่มีและไม่มีเทคโนโลยีของคอนติเนนทอลในการจำลองการขับขี่
นอกจากพันธมิตร AEye แล้ว คอนติเนนทอลกำลังเปิดตัว LiDAR ระยะไกล HRL131 เทคโนโลยีการตรวจจับที่แม่นยำนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในอนาคตของการขับเคลื่อนอัตโนมัติ HRL131 เป็น LiDAR แบบปรับตามระบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (MEMS-microelectromechanical system) สำหรับระดับ 3 และระดับ 4 เทคโนโลยี LiDAR ประสิทธิภาพสูงนี้เป็นฟีเจอร์หลักสำหรับการใช้งานโดยสารส่วนบุคคลและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยรวมความละเอียดเชิงพื้นที่แบบไดนามิกสูงเข้ากับการตรวจจับระยะไกล
รูปแบบการสแกนที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์สามารถปรับแต่งได้อย่างเต็มที่เพื่อปรับให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า ด้วยเหตุนี้ เซ็นเซอร์จึงได้รับการตั้งค่าให้จัดการกับสภาพแวดล้อมแบบไดนามิกที่ยากลำบากที่สุดสำหรับการขับขี่อัตโนมัติ จากสถานการณ์บนทางหลวงความเร็วสูงไปจนถึงถนนในเมืองที่การจราจรหนาแน่น HRL131 นี้จะการเริ่มต้นการผลิตในปี 2567 และจะเป็นเซ็นเซอร์ LiDAR ระยะไกลแบบโซลิดสเตตความละเอียดสูงตัวแรกของโลกที่เข้าสู่การผลิตแบบเป็นชุดในตลาดยานยนต์ โดยร่วมกับ LiDAR ระยะสั้นระดับยานยนต์ของคอนติเนนทอล HFL 110 ซึ่งขณะนี้อยู่ในการผลิตเป็นชุดเทคโนโลยี WWD และ LiDAR ของ Continental สนับสนุนเป้าหมาย Vision Zero ของบริษัท เป้าหมายสำหรับอนาคตที่การชนเป็นศูนย์ ผู้เสียชีวิตเป็นศูนย์ และการบาดเจ็บเป็นศูนย์
ภายในงาน CES คอนติเนนทอลจะนำเสนอยางต้นแบบที่ยั่งยืน Conti GreenConcept การศึกษาแนวความคิดโดยผู้ผลิตยางรถยนต์ระดับพรีเมียมนี้ใช้ประโยชน์จากแนวทางเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและที่เกิดขึ้นใหม่ในด้านวิศวกรรมยางที่ยั่งยืนสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลซึ่งเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมที่หลากหลายในการแสวงหาความยั่งยืนของคอนติเนนทอล ด้วยเหตุนี้ การศึกษาจึงเน้นทุกอย่างตั้งแต่การจัดหาและจัดซื้อวัตถุดิบในขั้นตอนการผลิตต่างๆ จนถึงวิธีการผลิต ผลลัพธ์ ยางรถยนต์ที่ประกอบด้วยวัสดุที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และวัสดุรีไซเคิลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงเป็นพิเศษ นวัตกรรมการออกแบบที่มีน้ำหนักเบาซึ่งช่วยประหยัดทรัพยากรอันมีค่าและยืดอายุการใช้งานได้ด้วยดอกยางทดแทน