คอนติเนนทอลได้เริ่มพัฒนาชุดควบคุมถุงลมนิรภัย (ACU) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบการช่วยชีวิต ต่อมาระบบถุงลมนิรภัยจึงเป็นส่วนสำคัญในรถยนต์สมัยใหม่เพื่อการขับขี่อย่างปลอดภัย การผลิตได้เริ่มต้นขึ้นในปี 2529 หรือเมื่อ 35 ปีที่แล้ว ตั้งแต่นั้นมา ACU จำนวนมากกว่า 350 ล้านชุด ได้รับการผลิตตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยจากการชนและทำงานได้ที่มีประสิทธิภาพจากโรงงานของคอนติเนนทอลทั่วโลก นอกจากนี้ ACU ยังสามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมแรงดันที่ช่วยตรวจจับและรายงานแรงปะทะของเหตุรถชน ซึ่งคอนติเนนทอลได้คิดค้นดาวเทียมแรงดันนี้ขึ้นมาเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ตั้งแต่นั้นมาจำนวนถุงลมนิรภัยภายในรถก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุได้ และยังมีส่วนช่วยในเรื่องของ Vision Zero ได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปี คอนติเนนทอลได้กำลังพัฒนาฟังก์ชันใหม่ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันของถุงลมนิรภัยในรถยนต์ให้ดียิ่งขึ้น
ภายใต้คำคม “การปกป้องรอบทิศทาง” ทำให้ในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อของมุมมองรอบนอกรถ (Pre-Crash Safety) และภายในรถ (Occupant Safety Monitoring) ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นเพื่อปรับกลยุทธ์การทำงานของถุงลมนิรภัยให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์และผู้คน ร่วมถึงตำแหน่งของพวกเขาให้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายคือการใช้สัญญาณจากชุดควบคุมที่เชื่อมต่อในการเปิดฟังก์ชันใหม่ เพื่อให้ถุงลมนิรภัยสามารถควบคุมและทำงานได้เร็วขึ้น และยังช่วยยืดอายุการใช้งานอีกด้วย เพราะทุกๆ เสี้ยววินาทีมีค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดการชนจากด้านข้าง
ระบบแรกเริ่มในการควบคุมถุงลมนิรภัยนั้นทำได้เพียงใบเดียว ในขณะที่ ACU ที่ทันสมัยสามารถควบคุมวงจรจุดระเบิดได้มากถึง 48 วงจร ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต โดยที่ประสิทธิภาพของ ACU จะแตกต่างกันไปตามแต่ละส่วนของยานพาหนะและอุปกรณ์ กล่าวคือ ECU สามารถปรับระดับการทำงานได้ ซึ่งคอนติเนนทอลกำลังทำให้สามารถใช้งานได้กับชุดควบคุมถุงลมนิรภัยแบบแยกส่วนสามรุ่น ทั้งนี้หน่วยควบคุมนั้นมีฟังก์ชันพื้นฐานในการป้องกันการกระแทกจากด้านหน้าและด้านหลัง ด้วยถุงลมนิรภัยด้านหน้า ตัวปรับสายคาด และยังมีฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น การอัพเดทแบบไร้สาย ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ และการตรวจจับการชนแม้ระหว่างอยู่ในกระบวนการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลง ECU ให้เป็นตัวควบคุมที่ใช้ซอฟต์แวร์ในการปรับโครงสร้าง E/E ด้วยการรวมศูนย์กลางไว้ด้วยกันและใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงเพียงไม่กี่เครื่องนั้น ไม่สามารถนำมาใช้กับ ACU ได้ ทั้งนี้ มร. โยเฮิร์น ซิมเมอร์มาน (Jochen Zimmermann) หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบความปลอดภัยในห้องโดยสารของคอนติเนนทอล ได้อธิบายว่า “ACU จะได้รับการติดตั้งในที่ที่ปลอดภัยที่สุดของรถเพื่อรับประกันประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุด แม้กระทั่งหลังจากการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง นอกจากนี้ข้อกำหนดของเวลาในการตอบสนองนั้นมีสูงมาก ดังนั้น ACU จึงทำให้การส่งสัญญาณระหว่างผู้ตัดสินใจและตัวกระตุ้นสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดใน ทั้งนี้ประสิทธิภาพความปลอดภัยสูงสุดสำหรับคอนติเนนทอลนั้นไม่สามารถต่อรองได้”
“การปกป้องรอบทิศทาง” ฟังก์ชันใหม่ของคอนติเนนทอลนั้นได้รวมเอารูปแบบการจุดระเบิดของถุงลมนิรภัยแบบเก่าไว้ด้วย เพื่อให้สามารถหยุดการเคลื่อนที่ของคนที่อยู่ในรถได้ โดยปัจจัยหลักคือการผสานรวมข้อมูลก่อนการชนที่ได้มากจากเซ็นเซอร์รอบตัวรถด้านนอก และการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้โดยสาร (Occupant Safety Monitor) ซึ่งในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาพื้นฐาน และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคนและตำแหน่งของคนภายในรถ มร. ซิมเมอร์มาน ได้กล่าวต่ออีกว่า “นี่จะช่วยให้การจุดระเบิดทำได้เร็วขึ้น เช่น การยืดพนักพิงเบาะนั่งให้ตั้งตรง 300 มิลลิวินาที (0.3 วินาที) ก่อนเกิดการชนจากด้านหน้า”
วาล์วควบคุมถุงลมนิรภัยอยู่ในระหว่างการพัฒนาล่วงหน้า เพื่อให้สามารถควบคุมระดับการเติมลมในถุงลมนิรภัยให้มีตัวเลือกมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้โดยสาร วาล์วรุ่นใหม่นี้สามารถเปลี่ยนแปลงการควบคุมแก๊สที่ไหล่เข้าสู่ถุงลมนิรภัยในเวลาเพียงไม่กี่มิลลิวินาที จึงช่วยให้ช่องนำอากาศในถุงลมนิรภัยมีขนาดเล็กลง และถุงลมนิรภัยพองได้นานขึ้นในระดับความแข็งที่เหมาะสมกับสถานการณ์และผู้โดยสาร ด้วยการควบคุมแรงดันโดยวาล์วควบคุมถุงลมนิรภัย หรืออาจเป็นไปได้ว่าในอนาคตถุงลมนิรภัยจะนิ่มลงได้ ณ ขณะที่ผู้โดยสารจะกระแทกกับถุงลม ทำให้ผลกระทบจากการเด้งกลับลดลง (การเหวี่ยงผู้โดยสารกลับ) ดังนั้นวาล์วจึงถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกจากการควบคุมแรงดัน 600 บาร์แบบเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในช่วงมิลลิวินาทีนั้น และควบคุมด้วยน้ำหนักของตัวเองซึ่งต่ำกว่า 300 กรัมในปัจจุบัน
ความไกลของระยะการใช้งานของ “การปกป้องรอบทิศทาง” สามารถวัดได้จากการที่คอนติเนนทอล ได้รวมการตรวจจับแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อวางแผนในการเตือนผู้ขับขี่ถึงความเสียหายของแบตเตอรี่ที่อาจเกิดขึ้น (และความเสี่ยงที่อาจเกิดไฟไหม้) หลังการกระแทกหรือการตกลงอย่างแรง ฟังก์ชันใหม่ที่ใช้เซ็นเซอร์เป็นตัวช่วยในการตรวจจับแรงกระแทกของแบตเตอรี่นี้ จะทำให้พื้นฐานทางเทคโนโลยีของระบบป้องกันคนเดินถนนจากแรงดันสามารถรวมเข้ากับชุดควบคุมถุงลมนิรภัยได้ในอนาคต
ระบบเซ็นเซอร์สัมผัส CoSSy (Contact Sensor System) ที่ใช้ตรวจจับการสัมผัสซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาที่นำเสนอไปแล้วเมื่อปี 2562 และทำให้ “การปกป้องรอบทิศทาง” เสร็จสมบูรณ์ ระบบจะตรวจจับและจำแนกสัญญาณเสียง เช่น การกระแทกที่ความเร็วต่ำ เพื่อให้รถหยุดได้ทันที นอกจากนี้ระบบยังสามารถรองรับคุณสมบัติอื่นๆ ได้อีกหลังการติดตั้ง เช่น การตรวจจับการก่อกวน (การขูดขีด) สภาพของถนน การขับขี่ด้วยเสียง และการเข้าใกล้รถฉุกเฉิน