เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เมืองฮันโนเวอร์ คอนติเนนทอลได้เรียกร้องกับทางมหาวิทยาลัยให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการฝึกอบรบผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อที่เยอรมนีจะสามารถไล่ตาม AI ได้ทัน โดยดร. ดร. เอเรียน เรนฮาร์ท กรรมการบริหารฝ่ายมนุษยสัมพันธ์ของคอนติเนนทอล ได้อธิบายว่า “AI เป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญสำหรับเยอรมนี หากไม่มีการพิจารณาจากทางมหาวิทยาลัยให้มีการเพิ่มความสำคัญให้กับการฝึกอบรมแบบเชิงปฏิบัติในการศึกษาด้าน AI ก็อาจทำให้เยอรมีกลายเป็นรองทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก ดังนั้นเศรษฐกิจของประเทศจะเสี่ยงต่อการสูญเสียฐานเศษฐกิจชั้นนำด้านเทคโนโลยีอื่นๆ ได้”
แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะสามารถผลิตนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน AI ที่มีชื่อเสียงมามากมาย แต่นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังไม่สามารถเข้าถึงอุตสาหกรรมได้โดยตรงเนื่องจากขาดความเชี่ยวชาญเชิงปฏิบัติ ดร. เรนฮาร์ท กล่าวอีกว่า “ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตร AI ไม่ได้รับการฝึกฝนเชิงปฏิบัติการอย่างเพียงพอตามความต้องการของเศรษฐกิจ เราจึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากมหาวิทยาลัยได้ฝึกปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ โดยใช้เวลาฝึกอบรมเพิ่มเติมอีก 3-5 ปี ซึ่งถือว่าใช้เวลาค่อนข้างมากในแง่ของ AI ที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในทุกด้าน”
คอนติเนนทอลได้เปิดสถาบันซอฟต์แวร์ของตนเอง เพื่อฝึกอบรมผู้เชี่ยวด้าน AI แบบปฏิบัติการจริง พร้อมทั้งอัพเดทความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยจัดให้มีการฝึกอบรม ตลอดจนหลักสูตรและสัมมนาภายในองค์กร รวมถึงการพูดคุยเกี่ยวกับเทคนิคกับวิทยากรจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงยิ่งไปกว่านั้น คอนติเนนทอลยังได้เร่งพัฒนาเทคโนโลยี AI แห่งอนาคตในระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อการเป็นผู้ช่วยขับขี่ ไปจนถึงการขับขี่และระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วย จึงทำให้เกิดคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวหนึ่งในกลยุทธ์ของบริษัท ด้วยการมุ้งเน้นไปที่จุดสำคัญของนวัตกรรม เช่น ซอฟต์แวร์และระบบดิจิทัล อีกทั้งวิศวกรของคอนติเนนทอลจำนวนประมาณ 20,000 คนจากกว่า 51,000 คนเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และไอทีอยู่แล้ว และบริษัทก็ยังต้องการเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวด้าน AI ให้มากขึ้นจาก 1,000 คนเป็น 1,600 คนภายในปี 2566 อีกด้วย